มีอีกไหม

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




เกษตรทฤษฎีใหม่ สำหรับพื้นที่ 15 ไร่ 
      "เกษตรทฤษฎีใหม่" หมายถึง หลักการและแนวทางปฏิบัติในการใช้ที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินถือครองขนาดเล็ก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยระบบการเกษตรยั่งยืน อันจะทำให้เกษตรกรรายย่อยดังกล่าว "มีพออยู่ พอกิน ถึงแม้ไม่รวยมาก แต่ก็มีพออยู่พอกิน ไม่อดอยาก" โดยการแบ่งที่ดินถือครองออกเป็น
ส่วนต่างๆอย่างเหมาะสมกล่าวคือแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ในอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 คือ
     ส่วนที่หนึ่ง : ที่ดินร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 4.5 ไร่ ให้ทำการขุดสระเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุประมาณ 19,200 ลูกบาศก์เมตร โดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรสามารถนำน้ำจากสระนี้ไปใช้ได้ตลอดปี ทั้งยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระน้ำ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
   ส่วนที่สอง : ที่ดินร้อยละ 30 ประมาณ 4.5 ไร่ ให้ปลูกข้าวหรือทำนาข้าว
   ส่วนที่สาม : ที่ดินร้อยละ 30 ประมาณ 4.5 ไร่ ให้ปลูกพืชไร่หรือพืชสวน ตามแต่สภาพของพื้นที่และสภาวะการตลาด
  ส่วนที่สี่ : ที่ดินร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่เหลือ มีเนื้อที่ประมาณ 1.5 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคู ลานบ้าน กองปุ๋ยหมัก โรงเพาะ
   นอกจากนี้ ถ้าหากจัดให้มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่คอยเติมน้ำให้แก่สระน้ำขนาดเล็กที่ขุดไว้ในส่วนแรกอยู่เสมอ ก็จะทำให้แนวทางปฏิบัติของเกษตรทฤษฎีใหม่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เห็ด และคอกสัตว์ เป็นต้น
      ทฤษฎีคำนวณการใช้น้ำ􀂃 นา 4.5 ไร่ ใช้น้ำ 9,000 ลูกบาศก์เมตร
 -  ไร่นาสวนผสม 4.5 ไร่ ใช้น้ำ 9,000 ลูกบาศก์เมตร
 -  ฝนไม่ตกเลย 300 วัน เหลือน้ำ 1,200 ลูกบาศก์เมตร
 -  กรณีที่ฝนทิ้งช่วง เมื่อฝนมา ต้องเติมน้ำ
     เกษตรกร ต้องเข้าใจและยอมรับ
 1. จัดการที่ดินเพื่อเพาะปลูกพืชหลายชนิด
 2. พัฒนาเป็นลำดับขั้น
 2.1 พอกินก่อน
 2.2 เหลือ ก็นำไปขาย ค่อยเป็นค่อยไป
 3. สำเร็จแล้ว คือมีชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว จึงพัฒนาไปสู่ขั้นที่ 2 คือพัฒนาสังคมชุมชน
 4. ขั้นที่ 3 พัฒนาผลผลิตการเกษตร ติดต่อกับธนาคาร หรือบริษัทเอกชน เพื่อให้สมประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2ฝ่าย คือชุมชน (สหกรณ์) ได้ขายผลผลิต ธนาคารหรือบริษัทเอกชน ได้ทำธุรกิจ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้พระราชทานเงินทองทรัพย์สิน แต่พระราชทานแนวพระราชดำริ ให้ราษฎรใช้ความคิดของตัวเอง
   ชีวิตที่พอเพียง : ครองชีพ ครองตนอย่างพอเพียง พออยู่ พอกิน ไม่ต้องเป็นหนี้ใคร หากินได้ด้วยน้ำพักน้ำแรง
“ ระเบิดจากข้างใน” ระเบิดจากหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม คือ เกษตรกร > ชุมชน > ประเทศ


               
                  โครงการหลวงบึงมักกะสัน

      หลักการบำบัดน้ำเสียโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ "บึงมักกะสัน"
       บึงมักกะสันเป็นบึงขนาดใหญ่ที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งการรถไฟ แห่งประเทศไทยได้ขุดขึ้น ในปี พ.ศ. 2474 เพื่อใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับ น้ำเสีย รวมทั้งน้ำมันเครื่องจากโรงงานรถไฟมักกะสัน ทำให้บึงมักกะสันตื้นเขิน จากการตกตะกอนของสารแขวนลอย ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ต่างก็ถ่ายสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยลงสู่บึงมักกะสัน จนเกิด ปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและน้ำเน่าเสียกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคแห่งหนึ่ง
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงภัยแห่งภาวะมลพิษนี้จึงได้พระราชทานพระราชดำริ  โดยใช้วิธีการในรูปแบบของ "เครื่องกรองน้ำ ธรรมชาติ" กล่าวคือ ให้มีการทดลองใช้ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่ต้องการกำจัดอยู่แล้วนี้ มา ทำหน้าที่ดูดซับความโสโครก รวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย โดยทรงเน้นให้ทำ การปรับปรุง อย่างประหยัด และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมบึงการทำงานของระบบอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่าง พืชน้ำ ได้แก่ สาหร่าย หรือ อัลจี กับแบคทีเรีย โดยในเวลากลางวัน อัลจีซึ่งเป็น พืชน้ำสีเขียวจะทำการสังเคราะห์แสง โดยใช้คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในน้ำและแสงแดด อัลจีจะนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้สร้างเซลล์ใหม่ ส่วนออกซิเจนที่เป็นผลพลอยได้นั้น ก็จะถูกแบคที่เรียนำ ไปใช้ในการย่อยสลายน้ำเสีย ซึ่งผลของปฏิกิริยานี้จะได้ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการ ดำรงชีพของอัลจี ดังนั้น อัลจี และแบคทีเรียจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ โดยต่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปรียบเทียบว่า "บึงมักกะสัน" เป็นเสมือนดั่ง "ไตธรรมชาติ" ของกรุงเทพมหานคร ที่เป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้หลายอย่างเช่น ปุ๋ย เชื้อเพลิง เยื่อสานจากผักตบชวาและการปลูกพืชน้ำอื่นๆ เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น รวมทั้งการเลี้ยงปลาด้วย โดยมิได้มีพระราชประสงค์จะทำให้เป็น สวนสาธารณะแต่อย่างใด บึงมักกะสันจึงเป็นบึงที่สร้างภาวะแวดล้อมด้วยวิธีธรรมชาติ เรียบง่าย ประหยัด และที่สำคัญเป็น แหล่งค้นคว้าทดลองที่พระราชทานเพื่อปวงประชา จักได้มีสุขถ้วนทั่วหน้ากัน การพัฒนาบึงมักกะสันจึงนับเป็นความสำเร็จที่เกิดจาก พระปรีชาสามารถในเชิงวิชาการด้านนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำ ด้วย สายพระเนตรที่ยาวไกล จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง แก่ชาวไทยทั้งมวล



                           โครงการแก้มลิง

      ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลอง ดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือการพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหล เข้าสู่บ่อพักน้ำ เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิง
แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
  - โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
  - โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
  - โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
  - โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตอนรับเพื่อนๆ...เปิดเทอมใหม่..1/2554

สวัสดีเพื่อนใหม่เป็นไงบ้าง
ถ้าเพื่อนว่างๆ..โปรดแวะมาหากันหน่อย
ปิดเทอมนาน...นานมากเราเฝ้าคอย
เปิดเทอมค่อยสดชื่น...ระรื่นเริง
ด้วยรักและคิดถึง ... ying